
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม เยือนกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์แนวหน้า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหลายประเด็น ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดก็เพื่อประโยชน์แห่งสาธารณะเพื่อคนไทยทุกคน ช่วงหนึ่งมีการหยิบยก เรื่องกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่ตั้งขึ้นมาในรัฐบาลคสช.ซึ่งทางนายกฯ มีความภูมิใจเป็นอย่างมาก ในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ช่วยเด็กด้อยโอกาสทั่วประเทศ แต่นายกฯก็ยังเป็นห่วงในเรื่องตำราเรียน ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องแก้ไขปรับปรุง พัฒนาให้นักเรียนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคีรักชาติยิ่งขึ้น
ในขณะเดียวกันนั้น ที่โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ ปทุมวันกรุงเทพฯ กสศ. ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์,กระทรวงมหาดไทย, UNESCO,UNICEF และ savethechildren จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ปวงชนเพื่อการศึกษา” เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี ปฏิญญาจอมเทียน เป็นวันที่สอง หลังจากระดมสมอง 60 ยอดนักคิด ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา นักปฏิรูป ผู้กำหนดนโยบายที่มีอิทธิพลต่อวงการศึกษาทั่วโลก ร่วมหาทางออกปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา หลังวิกฤติโควิด-19 โดยมีผู้เข้าร่วมฟังการประชุมในรูปแบบออนไลน์มากกว่า 2,500 คน จาก 79 ประเทศ
ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความสนใจ กสศ.ของประเทศไทยเป็นอย่างมากที่เดินหน้าไปได้รวดเร็ว โดยทางนายอิชิโร่ มิยาซาวะตัวแทนจากองค์การยูเนสโกประจำประเทศไทย ร่วมอภิปราย แสดงความห่วงใยในวิกฤติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ที่อาจทำให้นักเรียนประถม มัธยม ต้องหลุดออกนอกระบบมากกว่าเดิม ทั้งยังเห็นว่าในแต่ละประเทศควรออกพระราชบัญญัติในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้ชัดเจน และต้องมีงบประมาณสนับสนุนอย่างเต็มที่
ตัวแทนจากองค์การยูเนสโกประจำประเทศไทย มั่นใจ และเชื่อว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำในเรื่องการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และเดินมาถูกทาง สามารถเป็นตัวอย่างให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ กสศ.ประเทศไทย
ด้าน นายโทมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย กล่าวว่าสถานการณ์โควิด-19 จะมีผลกระทบกับเศรษฐกิจ และกระทบต่อการหางานของคนรุ่นใหม่ ยูนิเซฟตระหนักว่าการลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากกว่าสิ่งอื่นใด ไม่มีห้วงเวลาไหนสำคัญไปกว่าตอนนี้แล้วที่เราจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษา
ส่วน นายสุภกร บัวสาย ผู้จัดการกสศ. กล่าวว่าหากย้อนไป 10 ปีที่แล้ว ไทยมีปัญหาเรื่องการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมเราจึงพยายามใช้ข้อมูลและนวัตกรรมในการแก้ปัญหามาโดยตลอด โดยมุ่งช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่เข้าไม่ถึงการศึกษาเป็นกลุ่มแรก จนสามารถช่วยเหลือเด็กๆ ให้เข้าถึงการศึกษาได้จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จที่เกิดขึ้น ใช้เวลาถึง 8 ปี ที่รัฐบาลจะจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาในปัจจุบัน
วันนี้หลายประเทศเริ่มแก้ปัญหาความเสมอภาคทางการศึกษาได้ดีขึ้น หากในอนาคต ทุกคนต่างมุ่งหวังที่ให้ความเสมอภาคทางการศึกษาเกิดทั่วทั้งโลก จึงควรนำฐานข้อมูลที่แต่ละประเทศมีอยู่แล้วมาพัฒนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันสร้างเครือข่ายในระดับนานาชาติ ซึ่งกสศ.เองได้ร่วมกับกลุ่มประเทศอาเซียน จัดตั้งเป็นกองทุนกลางเพื่อทำงานร่วมกันและเชื่อมโยงเครือข่ายในประเทศอื่นๆ ได้ในอนาคต
ในวงเสวนาดังกล่าว ยังมีข้อมูลอีกมากมาย เชื่อว่านายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คงปลื้มใจยิ่งนัก ที่ได้เห็นการทำงานของ กสศ.คุ้มค่ากับงบประมาณของแผ่นดินและเงินบริจาคจากผู้มีจิตกุศล จนเป็นที่ยอมรับและเป็นตัวอย่างให้นานาชาติได้เห็น ซึ่งก้าวต่อไป นอกเหนือจาก ที่ กสศ.ต้องแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาแล้ว อาจจะต้องเข้าไปรับผิดชอบในด้านอื่นๆ ของการศึกษา ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูง
"มีอิทธิพล" - Google News
July 13, 2020 at 12:00PM
https://ift.tt/3ftBDWZ
คอลัมน์การเมือง - นายกฯกับการศึกษาของเด็กไทย - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"มีอิทธิพล" - Google News
https://ift.tt/3gIvPK6
Home To Blog
No comments:
Post a Comment