Pages

Thursday, July 2, 2020

'ฌอน บูรณะหิรัญ'ปลูกต้นไม้สะเทือนเหล่าไลฟ์โค้ช - เดลีนีวส์

apaterpengaruh.blogspot.com

กระแสฮือฮาในอินเทอร์เนตที่ขยายไปสู่การที่สื่อกระแสหลักจับมาเล่นใหญ่ ณ ขณะนี้ คงไม่พ้นเรื่องของ “ฌอน บูรณะหิรัญ” ไลฟ์โค้ชคนดังที่เขียนหนังสือขายดี มีผู้ติดตามในโลกโซเชี่ยลฯ กว่า 4 ล้านคน ที่ไปปลูกป่าที่เชียงใหม่ร่วมงานกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และชมว่า “พล.อ.ประวิตรเป็นคนน่ารัก อย่าเชื่อทุกอย่างที่สื่อนำเสนอ” คำพูดนี้ทำให้เกิดสิ่งที่ศัพท์สมัยใหม่เรียกว่า “ทัวร์ลง”กับฌอนทันทีว่าให้ไปดูสิ่งที่ พล.อ.ประวิตรทำก่อนจะพูด

มีคนอธิบายถึงประเด็นทางการเมืองที่ พล.อ.ประวิตรเป็นผู้มีอิทธิพล แต่ฌอนกลับเลือกตอบแบบ “กวนประสาท”กลับว่า ไม่รู้เรื่องการเมือง รู้แต่การเมีย” เท่านั้นเอง “นักแคป” ในเนตก็แคปภาพเอาโควตตัวนี้ออกมากระหน่ำโจมตีใหญ่จนยอดติดตามของฌอนลดลงเหลือระดับสองล้านปลายๆ และมีการ “ขุด”เอาสิ่งที่ฌอนเคยทำเช่น การขอรับบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือการดับไฟป่าที่เชียงใหม่มาให้ฌอนชี้แจง

กลายเป็นภาวะยิ่งพูดยิ่งพัง เพราะเมื่อฌอนชี้แจงว่า มียอดบริจาครวมราวๆ 8 แสนกว่าบาท ฝ่ายชาวเน็ตเขาก็ไม่เชื่อว่า “ผู้มีอิทธิพลในโลกโซเชี่ยลฯ (influencer ) อย่างฌอน รับบริจาคเป็นเดือนกลับได้แค่แปดแสน” แถมพอชี้แจงว่าเงินส่วนหนึ่งเป็นการจ่ายค่าโฆษณาเพจทางอินเทอร์เนต ทำให้คนยิ่งไม่พอใจว่า เป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ที่เขาต้องการบริจาคให้เงินทุกบาททุกสตางค์ไปถึงเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่มาเสริมสร้างความดังของเพจ

เรื่องของฌอนก็มีการขยายความต่อไปเรื่อยๆ ไปจนถึงการ “ขุด” หรือโจมตีคนที่ตั้งตัวเป็นอาชีพไลฟ์โคชเจ้าอื่นเสียอีกว่“ตกลงมีความน่าเชื่อถือจริงหรือไม่” แบบว่าบางคนอาจไปลอก ก็อปปี้คำคมจากคนดังๆ มาดัดแปลงให้เป็นคำพูดของตัวเอง และที่สำคัญ ประกาศตัวเป็นไลฟ์โค้ชนี่ เคยประสบความสำเร็จอะไรในชีวิตที่เห็นเป็นรูปธรรมจับต้องได้จริงจังไหม นอกจากกระหน่ำโฆษณาคำคมของตัวเองไปรัวๆ เรียกให้คนมาซื้อคอร์สเทรนนิ่งแพงๆ

กระบวนการของไลฟ์โค้ชทำงานอย่างไร ? ก็ต้องเริ่มจากการสร้างตัวโดยการโฆษณาวิธีต่างๆ เช่น อาจเขียนหนังสือสักเล่มสองเล่ม รวมเนื้อหาคมๆ ประเภทคิดเองได้บ้างหรือลอกชาวบ้านมาบ้าง แล้วประโคมโฆษณาเข้าไปให้เห็นว่“นี่คือหนังสือขายดี” ล่อให้คนสนใจ หรือสร้างบุคลิกที่เป็นที่โดดเด่น ออกคลิปออกสื่ออินโฟกราฟฟิค ออกไลฟ์สดพูดอะไรแบบโดนๆ กระตุ้นให้คนฮึกเหิมเห็นศักยภาพในตัวเอง

แต่ไลฟ์โค้ชบางคนก็ต้องระวัง “ผลตีกลับ” คือการไปกระตุ้นให้คนลุกขึ้นมาประกาศศักยภาพตัวเอง โดยการไปดูถูกเขาว่า “ที่ทำไม่ได้เพราะคุณกระจอกเอง” มันยิ่งย้ำปมให้หลายๆ คนรู้สึกด้อยค่า ที่ไม่รู้จะเริ่มต้นพยายามผลักดันความฝันของตัวเองให้ได้อย่างไร ตัวแปรในความสำเร็จมันไม่ใช่แค่ตัวคนๆ เดียวทำได้ มันต้องมีต้นทุน มีหัวคิดพลิกแพลงในการสร้างราคาสิ่งที่ตัวเองทำ มีฐานผู้สนับสนุน ไม่ใช่กระตุ้นด้วยการด่าแล้วคนจะมีมานะเอาชนะได้ทุกคน

ชีวิตของคนเราต้องมีไลฟ์โค้ชไหม ? ส่วนตัวเห็นว่าไม่จำเป็น กฎของการไลฟ์โคชแค่พยายามบอกคุณให้หาศักยภาพในตัวเองให้เจอ แล้วกล้าที่จะลองผิดลองถูกกับมัน เมื่อเจ็บตัวครั้งแรกก็ต้องนำบทเรียนมาพลิกแพลงปรับใช้ให้เหมาะสม เรียนรู้จากคนที่เคยประสบความสำเร็จที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน... รู้สึกว่าตัดจบสรุปบทบาทของไลฟ์โค้ชก็มีแค่เนี้ย การตั้งใจเรียน การรู้จักทักษะของตัวเองและการไม่ย่ำอยู่กับที่ก็พอไม่ต้องให้ใครมาโคช

ไลฟ์โค้ชประเภทที่อันตรายคือประเภทที่พยายามจะบอกว่า คนเราประสบความสำเร็จแต่ยังเด็กได้ โดยไม่ต้องจบการศึกษาภาคบังคับ แล้วก็ยกตัวอย่างคลาสสิคอยู่ได้สองสามคน อาทิ บิล เกตต์ เจ้าของไมโครซอฟต์ มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก เจ้าของเฟซบุ๊ก แต่ไม่พูดให้ครบว่าคนพวกนั้นคือต้นทุนทางสังคมชีวิตเขาสูงพอ และความสำเร็จบางทีเป็นเรื่องของดวง อย่างการเกิดขึ้นของเฟซบุ๊กที่ว่ากันว่าเดิมจะเป็นแพลตฟอร์มให้รังแกกันออนไลน์ แต่กลับดังทั่วโลก

การบอกว่าไม่ต้องจบการศึกษาภาคบังคับแล้วประสบความสำเร็จได้ เป็นอะไรที่เอามาใช้เยอะในหมู่ของพวกไลฟ์โค้ชขายตรง เพราะพวกนี้ต้องการ “ลูกข่าย” ให้ได้มากที่สุด แล้ววัยรุ่นก็ถูกล่อด้วยความฝันได้ง่ายว่าจะเป็นพวก “อายุน้อยร้อยล้าน” เพราะในโลกเดี๋ยวนี้ใครๆ เขาก็อวดมั่งมีกันตามโซเชี่ยลฯ เหลือเกิน ไลฟ์โคชขายตรงพวกนั้นก็พยายามให้วัยรุ่นเป็นลูกข่าย ซื้อของมาสต๊อกแล้วพยายามขายให้ได้ เพื่อผลประโยชน์ของบริษัทขายตรง

โดยที่ไลฟ์โค้ชพวกนั้นก็ไม่ได้สนใจเสียหรอกว่า การยุให้คนทำแบบนั้น มันทำให้เขาเสียต้นทุนทั้งทางการเงิน ต้นทุนทั้งความรู้ที่จะต่อยอดทำอาชีพได้ และที่สำคัญคนที่ประสบความสำเร็จโดยไม่มีดีกรีระดับปริญญามารองรับนั้นมันไม่ได้มีจำนวนมาก แต่พอไปเชื่อไลฟ์โคชมากๆ พาชีวิตตัวเองพัง ขายตรงจนคนรอบข้างเกลียด ไลฟ์โค้ชก็ไม่เห็นจะรับผิดชอบอะไร ปล่อยให้คนกลุ่มหนึ่งจมอยู่กับความฝันลมๆ แล้งๆ ไป

อย่างไรก็ตาม กรณีของฌอน บูรณะหิรัญ กลายเป็นปลูกต้นไม้สะเทือนกันทั้งแผ่นดินไปเลย เมื่อมีการตั้งข้อสังเกตเรื่องการเรี่ยไรเงินบริจาค สรรพากรก็หันมาสนใจทันทีว่า “เงินนอกระบบภาษี” ตรงนี้ของไลฟ์โค้ชแต่ละคนได้เท่าไร ก็ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจเห็นไลฟ์โคชจ่ายภาษีย้อนหลังจนยื่นล้มละลายกันบ้างก็ได้ และที่สำคัญคือท่าทีของกรมการปกครอง ที่อธิบดีออกมาให้สัมภาษณ์ว่า “อาจต้องทบทวน พ.ร.บ.เรี่ยไร พ.ศ.2487 เสียใหม่”

เพราะ พ.ร.บ.เรี่ยไรนั้นอธิบดีพูดว่า ออกมาตั้งแต่ช่วงที่ยังไม่ค่อยจะมีทีวีใช้กันด้วยซ้ำ” แต่ปัจจุบันนี้การเรี่ยไร การขอรับบริจาคมีเรื่อยๆ ไปดราม่าน่าสงสารฟายน้ำตาออกทีวีครั้งนึงแป๊บๆ เงินบริจาคมาเป็นล้าน หรือสร้างดราม่าออนไลน์ทีนึงก็รวบรวมเงินบริจาคได้เยอะ แต่ไม่มีการแสดงรายการการใช้จ่าย จนหลังๆ เริ่มมีพวกรับเงินบริจาคโดนชาวเน็ต“แหก”ไปหลายคนอยู่เหมือนกัน ว่าสร้างภาพแถมใช้เงินไม่โปร่งใส

มันเป็นเรื่องที่ดีที่จะต้องปรับแก้ พ.ร.บ.เรี่ยไร เพื่อป้องกันมิจฉาชีพค้าความสงสาร การเรี่ยไรหรือขอบริจาคอาจต้องกำหนดให้ชัดเจนโดยไม่ว่าจะออกทีวี ออนไลน์ ก็ต้องมีการขออนุญาตเจ้าพนักงานและนำส่งบัญชีรายรับ นำส่งบัญชีรายจ่าย อะไรที่ผิดวัตถุประสงค์ก็เอาผิดจะได้หลาบจำกันเสียบ้าง หรือไม่ก็ให้สรรพากรเข้าไปเล่นงานเพิ่มอีกทางหนึ่ง ยิ่งช่วงโควิดเราก็ต้องตั้งงบประมาณใช้หนี้เยอะ ก็เป็นรายได้เข้าประเทศอีกทาง

แรงสั่นสะเทือนจากเรื่องเงินบริจาคไม่หยุดแค่กรณีฌอน ล่าสุดทางคณะก้าวหน้าก็ถูกเรียกร้องให้ออกมาเปิดเผยบัญชีที่เคยจัดคอนเสิร์ตรับบริจาคช่วยโควิดไป โดยเอาสเตทเมนท์มาแสดงว่า รับมาเท่าไร โอนให้ใครไปเท่าไร คนที่รับโอนมีตัวตนจริงหรือไม่ แค่ฉากแรกที่ น.ส.พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้านำชื่อผู้รับเงินออกมาชี้แจง ชาวเน็ตก็เริ่มไล่ขุดกันแล้วว่า คนพวกนี้มีตัวตนจริงหรือไม่ ซึ่งก็ลุ้นกันไปว่าเผลอๆ เป็นหนังม้วนยาวถ้าเจ้าอื่นโดนขุดบ้าง
      
คุณูปการหนึ่งของกรณี''ฌอน'' นี่ก็คือการรื้อระบบเงินบริจาคกันใหม่เสียที ให้ถูกต้อง โปร่งใส. 
..............................................
คอลัมน์ : ที่เห็นและเป็นอยู่
โดย “บุหงาตันหยง”  

ภาพจาก :  FB : Sean Buranahiran - ฌอน บูรณะหิรัญ

Let's block ads! (Why?)



"มีอิทธิพล" - Google News
July 01, 2020 at 10:00PM
https://ift.tt/2ZwqNIT

'ฌอน บูรณะหิรัญ'ปลูกต้นไม้สะเทือนเหล่าไลฟ์โค้ช - เดลีนีวส์
"มีอิทธิพล" - Google News
https://ift.tt/3gIvPK6
Home To Blog

No comments:

Post a Comment