Pages

Thursday, August 13, 2020

ส.ส.ก้าวไกล ชงแนวทางสร้างปรองดอง ชี้สื่อมีอิทธิพลต่อความรุนแรง - ไทยรัฐ

apaterpengaruh.blogspot.com

"ธัญวัจน์" ส.ส.ก้าวไกล ชงแนวทางสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ ของคนในชาติ ระบุสื่อมีอิทธิพลต่อค่านิยมความรุนแรงในสังคม แนะผู้เสพต้องคิด-วิเคราะห์ ก่อนตัดสินใจเชื่อ

เมื่อวันที่ 13 ส.ค.63 ที่รัฐสภา นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวอภิปรายรับทราบรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องแนวทางการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ ของคนในชาติ ที่ศึกษาโดยคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน 

โดย ธัญวัจน์ กล่าวว่า จากที่ได้รับรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่องแนวทางการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติของคณะกรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ตนได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมในเรื่องของสื่อมวลชนดังที่รายงานระบุว่า "สื่อต้องไม่นำเสนอข้อมูลและถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชัง หรือยั่วยุให้ใช้ความรุนแรงต่อคู่ขัดแย้ง รวมทั้งไม่นำเสนอภาพความรุนแรงในลักษณะชี้นำให้สังคมเห็นว่าการใช้ความรุนแรงเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมไทย สื่อจึงควรคำนึงถึงผลกระทบ และความเหมาะสมของสิ่งที่นำเสนอต่อสังคมด้วย ตนเห็นด้วยว่าการนำเสนอข่าวสังคม ข่าวการเมืองของสื่อ ต้องคำนึงและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่นำเสนอความเกลียดชังและความรุนแรง เพราะจะยิ่งทำให้สังคมนั้นมีความแตกแยกมากขึ้น และเป็นสังคมนิยมดราม่า

นายธัจวัจน์ กล่าวต่อว่า ต้องพิจารณารวมด้านการสื่อสารมวลชนประเภทอื่นด้วย จะต้องไม่ใช่การรายงานข่าวเพียงเท่านั้น จะต้องหมายรวมถึงการผลิตสื่อประเภทอื่นๆด้วย เช่น ละคร ซีรีส์ ภาพยนตร์ เพลง หรือการสอดแทรกความรุนแรงผ่านทางวัฒนธรรมด้วย เพราะสังคมไทยไม่ควรมีการนำเสนอความเกลียดชังและความรุนแรงในลักษณะสร้างความชอบธรรม หรือชี้นำให้สังคมเห็นว่าการใช้ความรุนแรงเป็นเรื่องปกติธรรมดา ซึ่งปัจจุบันพบว่าเนื้อหาของละครยังมีการสนับสนุน และผลิตเนื้อหาแบบตบตีแย่งผู้ชาย ตบจูบ ยิ่งตบแรงยิ่งจูบแรงก็ยิ่งเรตติ้งดี พระเอกข่มขืนนางเอกก็ยังมีความชอบธรรม ที่ทำไปก็เพราะรัก ทำให้การข่มขืนกลายเป็นเรื่องปกติที่เห็นชินตาในละคร ตอกย้ำผลิตซ้ำวัฒนธรรมสังคมนิยมและเชิดชูความเป็นชาย การเป็นผู้ยอมต้องอดทน ไม่มีปากไม่มีเสียงกับคนมีอำนาจ ที่แม้จะกระทำการข่มขืน ก็อ้างว่ากระทำเพราะรัก 

"แม้แต่ในแวดวงการเมืองก็มีการสร้างความชอบธรรมในการกระทำผิดเช่นกัน การทำรัฐประหาร ก็เพราะความรักประเทศ จนมีคนในสังคมเชื่อว่า การรัฐประหารชอบธรรม เพราะความรักชาติ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง แต่ยิ่งทำให้เกิดความขัดแย้งแตกร้าวในสังคมมากขึ้น เพราะการรัฐประหารก็ไม่ต่างจากการข่มขืนประชาชนทั้งประเทศ ทั้งนี้สื่อมวลชนเป็นเพียงปลายเหตุ ของการส่งต่อการใช้ความรุนแรงให้เป็นเรื่องปกติธรรมดาเท่านั้น เพราะต้นเหตุที่แท้จริงนั้น เราทุกคนต่างอยู่ในสังคมที่บ่มเพาะความเกลียดชัง ตั้งแต่ยังเด็กในการศึกษา และส่งต่อความเกลียดชังผ่านสื่อมวลชน โดยที่เราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า นี่คือการสื่อสาร ความเกลียดชัง และความรุนแรง ที่สร้างความแตกแยกทั้งสังคม เพศ วัฒนธรรม และการเมือง" นายธัญวัจน์ กล่าว

นายธัญวัจน์ กล่าวต่อว่า สุดท้ายสถาบันเสาหลักและองค์กรเอกชน รวมถึงภาครัฐจะต้องรับผิดชอบต่อสังคม ยึดเอาจรรยาบรรณ หลักการของวิชาชีพและความถูกต้องเป็นที่ตั้ง ในทางเดียวกันประชาชนต้องเรียนรู้เท่าทันสื่อผ่านระบบการศึกษา ไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟังตั้งแต่แรก แต่จะต้องมีการคิด วิเคราะห์ สงสัย และรู้จักตั้งคำถามว่าสิ่งนั้นจริงหรือไม่ ใครเป็นคนให้ข้อมูล และที่สำคัญการสื่อสารนั้นต้องการสื่ออะไร และมีจุดมุ่งหมายใด สุดท้ายองค์กรจะต้องมีการจัดประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็นการสื่อสารมวลชน

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"มีอิทธิพล" - Google News
August 13, 2020 at 01:57AM
https://ift.tt/2PQpi3T

ส.ส.ก้าวไกล ชงแนวทางสร้างปรองดอง ชี้สื่อมีอิทธิพลต่อความรุนแรง - ไทยรัฐ
"มีอิทธิพล" - Google News
https://ift.tt/3gIvPK6
Home To Blog

No comments:

Post a Comment