Pages

Wednesday, June 10, 2020

อิทธิพลของจีนต่อเอเชีย ตอ.เฉียงใต้เพิ่มขึ้น ขณะที่ของอเมริกาลดลง : ผลสำรวจระบุ - ข่าวจริง

apaterpengaruh.blogspot.com

ผลการสำรวจกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาค เมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่า สหรัฐอเมริกากำลังพยายามอย่างหนักที่จะแข่งขันกับอิทธิพลของจีนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้น จะสนับสนุนและส่งเสริมหลักค่านิยมประชาธิปไตยอย่างมากก็ตาม

การสำรวจที่ทำโดยศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ (Center for Strategic and International Studies หรือ CSIS) พบว่า ปัจจุบัน จีนมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าสหรัฐอเมริกามากอยู่แล้ว และมีอิทธิพลทางการเมืองมากกว่าสหรัฐฯ เล็กน้อย เป็นที่คาดกันว่า อิทธิพลของจีนจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในสิบปีข้างหน้า

การสำรวจดังกล่าว ซึ่งจัดทำขึ้นโดย CSIS สถาบันที่น่าเชื่อถือ ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดีซี โดยสอบถาม “ชนชั้นนำที่มีความรู้ทางยุทธศาสตร์” ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชน หรืออดีตข้าราชการ จากหกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 188 คน จากเวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ และอีก 13 คน จากประเทศฟิจิ

การสำรวจนี้ได้จัดทำขึ้น ระหว่างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม พ.ศ. 2562 ดังนั้น จึงไม่อาจทราบได้ว่าการระบาดใหญ่ของโควิด-19 อาจส่งผลต่อความคิดเห็นที่ผู้ตอบแบบสำรวจมีต่อสองประเทศมหาอำนาจนี้อย่างไรบ้าง เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ มีต้นกำเนิดในประเทศจีน และจีนถูกกล่าวหาว่าพยายามปิดบังเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้ในตอนแรก ซึ่งเชื้อไวรัสนี้ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยสหรัฐอเมริกามีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก

“ผลการสำรวจนี้เห็นได้ชัดเจนถึงอิทธิพลที่เพิ่มมากขึ้นของจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งทัศนคติที่ซับซ้อน และความคิดเห็นที่แตกต่างกันของจีน รวมทั้ง ความกังวลอย่างยิ่งยวดต่อการแข่งขันทางกลยุทธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ตลอดจนผลกระทบทั้งหลายที่มีต่อสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)”

ผู้ตอบแบบสำรวจ ได้รับการขอให้เลือกประเทศที่มีอิทธิพลทางการเมืองมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่เกินสามประเทศ จีนมาเป็นอันดับหนึ่งด้วยคะแนนร้อยละ 94.5 ขณะที่ร้อยละ 92 ตอบว่า สหรัฐอเมริกา

แต่เมื่อถามว่าประเทศใดจะมีอิทธิพลมากที่สุดใน 10 ปีข้างหน้า ผลปรากฏว่าคะแนนของสองประเทศมหาอำนาจนี้ห่างกันมาก โดยร้อยละ 94.5 ตอบว่าจีน และร้อยละ 77 ตอบว่าสหรัฐอเมริกา สำหรับทั้งสองคำถาม ญี่ปุ่นและอินโดนีเซียได้คะแนนเป็นอันดับสามและสี่ตามลำดับ โดยทิ้งห่างจากสองอันดับแรกมาก

แพทริก บิวกัน ผู้อำนวยการโครงการพันธมิตรสหรัฐฯ ที่ CSIS และผู้ร่วมเขียนงานสำรวจชิ้นนี้ กล่าวว่า ความพยายามของจีนที่จะสร้างอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงห้าปีที่ผ่านมา และผลการสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มดังกล่าว เขากล่าวว่าผลการสำรวจนี้ ควรเป็นคำเตือนถึงสหรัฐฯ ขณะที่สหรัฐฯ พยายามแข่งขันกับจีน

“เมื่อมองย้อนกลับไป สหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้ความสนใจแก่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่การเสียกรุงไซ่ง่อน” แพทริก บิวกัน ให้สัมภาษณ์ โดยอ้างถึงการสิ้นสุดของสงครามเวียดนามในปี พ.ศ. 2518

“ความพยายามของสหรัฐฯ ในเอเชียมุ่งไปที่เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือมาโดยตลอด ดังนั้น จึงสะท้อนให้เห็นว่า อิทธิพลและความเชี่ยวชาญของอเมริกาต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขาดช่วงไปกว่าห้าสิบปี” เขากล่าว

เมื่อถามถึงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบทั้งหมดเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า จีนมาเป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้ว โดยมีคะแนนทิ้งห่างจากอันดับสองมาก และจีนจะยังคงรักษาตำแหน่งนี้ ในทศวรรษต่อไป

เมื่อถามว่า สามประเทศใดที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากที่สุดในปัจจุบัน ร้อยละ 98 ตอบว่าจีน ร้อยละ 70.6 ตอบว่าสหรัฐฯ และร้อยละ 66.7 ตอบว่าญี่ปุ่น เมื่อถามต่อไปว่าในอีก 10 ปี ประเทศใดจะมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากที่สุด ร้อยละ 96 ตอบว่าจีน ร้อยละ 56.7 ตอบว่าสหรัฐฯ และร้อยละ 56.2 ตอบว่าญี่ปุ่น

แพทริก บิวกัน ให้เหตุผลว่า สาเหตุที่ผลออกมาเช่นนั้นเป็นเพราะว่า สหรัฐอเมริกาแทบจะไม่มีส่วนร่วมในข้อตกลงการค้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสถาบันต่าง ๆ เช่น ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ซึ่งมีการเจรจากันในสมัยรัฐบาลของ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ “ศูนย์กลาง” ด้านยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ต่อเอเชีย แต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่สานต่อในเรื่องนี้

แม้จะตระหนักดีถึงอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของจีน ประเทศที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ และแนวโน้มความเป็นเผด็จการของรัฐบาลหลายประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ผู้ตอบแบบสำรวจก็ยังให้การสนับสนุนหลักค่านิยมประชาธิปไตยอยู่

ร้อยละ 85 ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่า ตนเชื่อว่าหลักประชาธิปไตย เป็นประโยชน์ต่อเสถียรภาพและความรุ่งเรืองของประเทศตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทย และฟิลิปปินส์ สองประเทศที่ความเป็นประชาธิปไตยหย่อนยานลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และอินโดนีเซีย ประเทศที่ประชาธิปไตยเข้มแข็งขึ้น

“ความต้องการบรรทัดฐานและหลักการประชาธิปไตยมีอยู่ในทุกส่วนจริง ๆ” แพทริก เบอกัน กล่าว “ถ้าเราทำการสำรวจความคิดเห็นนี้เมื่อ 30 ปีก่อน ผลที่ได้จะแตกต่างไปจากนี้มาก ๆ”

“พลังความคิดและหลักการทางประชาธิปไตย ดังกล่าว ของสหรัฐอเมริกา ก็ได้สร้างอิทธิพลพลังความคิดเจริญรอยมาถึงสองชั่วอายุคน ว่าเป็นบรรทัดฐานที่เป็นที่ยอมรับ”

ประมาณร้อยละ 53 ของผู้ตอบแบบสำรวจคิดว่า บทบาทของจีนเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคนี้ ขณะที่ร้อยละ 46 คิดว่าเป็นภัยต่อภูมิภาค ผู้ที่ตอบว่าเป็นภัยต่อภูมิภาคส่วนใหญ่อยู่ในเวียดนามและฟิลิปปินส์ สองประเทศนี้ยังแสดงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ที่กำลังเป็นข้อพิพาทกันอยู่กับจีน เนื่องจากจีนอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ทั้งหมด

ผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า อาเซียน เป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดต่อการจัดระเบียบในภูมิภาคนี้

แต่เวียดนามเห็นต่างไปในเรื่องนี้ เหตุผลอาจเป็นเพราะ เวียดนามไม่พอใจที่อาเซียนไม่ประสบความสำเร็จในการบรรลุข้อตกลงร่วมกรณีข้อพิพาททะเลจีนใต้ โดยประเทศภาคีที่สนับสนุนจีน อย่างเช่น กัมพูชา ขัดขวางความพยายามในการบรรลุข้อตกลงร่วมดังกล่าว

เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า สิ่งคุกคามที่สำคัญที่สุดต่อเอกภาพของอาเซียนคือ แรงกดดันภายนอกจากประเทศมหาอำนาจ อันดับสองคือความกังวลที่ว่าประเทศภาคีไม่ให้ความสำคัญอย่างเพียงพอแก่อาเซียน

Let's block ads! (Why?)



"มีอิทธิพล" - Google News
June 10, 2020 at 08:50PM
https://ift.tt/2XVujNL

อิทธิพลของจีนต่อเอเชีย ตอ.เฉียงใต้เพิ่มขึ้น ขณะที่ของอเมริกาลดลง : ผลสำรวจระบุ - ข่าวจริง
"มีอิทธิพล" - Google News
https://ift.tt/3gIvPK6
Home To Blog

No comments:

Post a Comment