หลังจากที่โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับการเปิดเผยว่าจ่ายภาษีให้กับประเทศเพียง 750 ดอลลาร์ ในปี 2016 และ 2017 จากหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ในสหรัฐ
น่าจะเป็นจุดที่ทางโจ ไบเดน สามารถกุมความได้เปรียบทางการเมืองในช่วงก่อนขึ้นโต้วาทีครั้งแรก บทความนี้จะพาท่านมารู้จักผู้อยู่เบื้องหลังนโยบายด้านเศรษฐกิจของโจ ไบเดน ว่ามีใครและมีแนวคิดอย่างไรกันบ้าง ดังนี้
“เจเน็ต เยลเลน”
เริ่มจากมาดูความคิดทางด้านเศรษฐกิจของเยลเลน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดที่เราคุ้นเคยกันมานาน ผ่านประเด็นการลดขนาดการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE Tapering นั้น เธอเคยกล่าวว่าเวลาที่พิจารณาว่าจะลดขนาด QE หรือไม่นั้น เธอจะดู 1.ข้อมูลในลักษณะเชิงคุณภาพด้วย มิใช่เชิงปริมาณเท่านั้น 2.ภาพในอนาคตของตลาดแรงงาน มิใช่มองเพียงว่าตัวเลขในปัจจุบันดีขึ้นกว่าในอดีตมากน้อยเท่าไร และ 3.พิจารณาว่าการซื้อหรือขายสินทรัพย์ของเฟดจะก่อให้เกิดประโยชน์ หรือมีค่าใช้จ่ายจากปฏิบัติการดังกล่าว แล้วถ่วงน้ำหนักดูว่าข้างไหนมากกว่ากัน มิใช่พิจารณาเพียงว่าข้อมูลตัวเลขการว่างงานเพียงเท่านั้น ซึ่งตรงนี้จะมีอิทธิพลต่อเจย์ พาวเวล ประธานเฟดสำหรับแนวทางด้านเศรษฐกิจในอนาคต
คราวนี้หันมาดูข้อมูลเศรษฐกิจทั้ง 4 ตัวที่เยลเลนจะนำมาพิจารณาเป็นพิเศษในการลดหรือเพิ่มขนาดการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้อมูลชุดแรกที่บ่งบอกถึงภาพในอนาคตของตลาดแรงงานเป็นอย่างดี ได้แก่ อัตราการว่างงาน
ข้อมูลชุดที่ 2 ข้อมูลการจ้างงานภายในระบบเศรษฐกิจ
ชุดที่ 3 และ 4 ได้แก่ ปริมาณการจ้างงานในเดือนนั้นๆ และตัวเลขที่ผู้ใช้แรงงานตัดสินใจลาออกจากที่ทำงานของตนเอง โดยหากตัวเลขการจ้างงานในเดือนหนึ่งๆ กระเตื้องขึ้นก็นับเป็นสัญญาณที่ดี ในทางกลับกัน หากตัวเลขที่ผู้ใช้แรงงานตัดสินใจลาออกสูงขึ้น นั่นก็แสดงว่าแรงงานเชื่อมั่นว่าจะสามารถกลับมาสู่ในตลาดแรงงานอีกครั้งได้ไม่ยาก
โดยตัวเลขเศรษฐกิจเหล่านี้จะเป็นโฟกัสของไบเดน หากเขาได้เป็นผู้นำสหรัฐ
“สเตฟานี เคลตัน”
แนวคิด Modern Macroeconomic Theory (MMT) ที่บางท่านมองว่าเป็นเศรษฐศาสตร์มหภาคแนวใหม่ก่อนอื่นผมขอเล่าถึงเบื้องหลังที่ทำให้ MMT ซึ่งเป็นแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ถือว่าใหม่ได้เคยเป็นกระแสที่จุดติดในโลกโซเชียลแบบเคยขึ้น TOP 10 ของแฮชแท็กในทวิตเตอร์ เนื่องจากนักการเมืองรุ่นใหม่ของพรรคเดโมแครตที่เป็นสาย Liberal ได้พยายามนำเสนอนโยบายที่จะตอบโจทย์ให้กับผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งวัย Millennial จึงมีการเสนอนโยบาย New Green Deal ที่คำนึงถึงประเด็นสิ่งแวดล้อมของโลก ซึ่งจำเป็นต้องมีการใช้งบประมาณค่อนข้างมาก
ตรงนี้ โจ ไบเดน เลยหากุนซือในเรื่องนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้น สเตฟานี เคลตัน อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่หนุน MMT มากว่า 2 ปี โดยเธอต้องการใช้ MMT ลดบทบาทของเฟดเนื่องจากเฟดในปัจจุบันเป็นผู้ชี้เป็นชี้ตายต่อเศรษฐกิจสหรัฐว่าอยากจะให้ไปทางใด
สำหรับแนวคิดที่ MMT เห็นต่างจากแนวทางเศรษฐศาสตร์มหภาคที่เกือบทุกประเทศใช้กันอยู่ในขณะนี้คือ แนวคิดนี้เชื่อว่าการกำหนดลำดับของการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจควรจะมีลำดับดังนี้
เริ่มต้นจากการใช้อัตราดอกเบี้ยที่พิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสมกับเศรษฐกิจ จากนั้นจึงค่อยเลือกใช้นโยบายการคลังที่เหมาะสมตามสถานการณ์ต่างๆ ตามหน้างานในช่วงนั้น ด้วยการเพิ่มหรือลดการใช้จ่ายภาครัฐหรือปรับขึ้นหรือลดนโยบายทางภาษี
สำหรับประเด็นที่มีการถกเถียงกันแบบเผ็ดร้อนไม่แพ้เวทีดีเบตการเมืองในสหรัฐ ณ นาทีนี้ ระหว่าง พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล และสเตฟานี เคลตัน ได้แก่ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับการขาดดุลภาครัฐ อะไรเป็นเครื่องมือที่ไว้กระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีกว่ากัน ฟากครุกแมนประเมินว่าดอกเบี้ยสามารถทำให้เศรษฐกิจโตได้ไม่ต่างจากการขาดดุลภาครัฐ ฝั่งตรงข้ามมองว่าดอกเบี้ยมีจุดอ่อนที่เป็นเพียงต้นทุนทางการเงินไม่ใช่ตัวเงินที่ถึงมือผู้คนต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ
จุดที่ MMT ถูกครุกแมนโจมตีคือ MMT มองว่าการขาดดุลภาครัฐจะทำให้เกิดเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น (อันเป็นที่มาของความเชื่อของ MMT ที่เน้นว่าการเป็นหนี้ของรัฐบาลช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐโดยไม่มีผลเสีย เนื่องจากรัฐบาลสามารถพิมพ์เงินได้ตลอด) ซึ่งในความเป็นจริงนั้น อัตราดอกเบี้ยจะเป็นตัวปรับสมดุลของปริมาณเงินในระบบให้เข้าสู่ดุลยภาพ
นอกจากนี้ MMT มองว่าระบบการจ้างงานแบบตลอดชีพจะส่งผลถึงความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน และจะทำให้การกำหนดระดับการขาดดุลภาครัฐสามารถทำได้ผ่านการปรับสัดส่วนระหว่างการจ้างงานตลอดชีพต่อการจ้างงานทั้งหมด ซึ่งผมมองว่าจุดนี้ MMT ถือว่ายังมีความครุมเครืออยู่มาก โดยยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าระดับการขาดดุลภาครัฐที่เหมาะสมมีอยู่หรือไม่
“จาเร็ด เบิร์นสตีน”
เขาน่าจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสูงที่สุดในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของไบเดน โดยเบิร์นสตีนเคยทำงานกับพรรคเดโมแครตมาอย่างยาวนาน โดยเขาได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่เชื่อแนวทางการค้าเสรีและ Supply-side economics โดยเบิร์นสตีนเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังแผนโครงการใช้จ่ายภาครัฐกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ในส่วนพลังงานสะอาด Healthcare งบวิจัยและพัฒนา การศึกษา และด้านไอทีในระยะเวลา 4 ปีของไบเดน
โดยเขามองว่าด้วยงบประมาณรัฐบาลสหรัฐที่จะทำให้อัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีสหรัฐใกล้เคียงกันในอีก 10 ปีข้างหน้า ทว่าโดนัลด์ ทรัมป์ นำไปลดภาษีให้กับคนรวยแทนนั้น จะก่อให้เกิดการจ้างตำแหน่งงานน้อยกว่าแผนของไบเดนกว่า 2 ล้านตำแหน่ง ซึ่งเขามองว่าเนื่องจากแผนของทรัมป์ทำให้เม็ดเงินไปกระจุกตัวอยู่ที่คนรวย ซึ่งไม่ได้ทำให้การใช้จ่ายในภาพรวมมีมูลค่ามากขึ้นอย่างที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด รวมถึงยังทำให้ระดับผลิตภาพในระบบเศรษฐกิจสหรัฐลดลงอีกด้วย
“เฮเธอร์ บาวชี”
หนึ่งในจุดเด่นของนโยบายเศรษฐกิจของไบเดน คือความเท่าเทียมกันทางรายได้และทางสังคมของประชาชน ในจุดนี้ บาวชี นักเศรษฐศาสตร์ที่เน้นด้านความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจของประชาชน ได้พยายามหาจุดสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ การเมือง และนโยบายที่ลงตัวพอดี จนก่อให้เกิดนโยบายที่จะทำให้การเติบโตเศรษฐกิจของสหรัฐเป็นไปอย่างที่ประชาชนทุกกลุ่มสามารถที่จะอยู่กันได้ แบบที่มีความเหลื่อมล้ำทางฐานะและทางสังคมไม่มากจนเกินไป
ซึ่งแน่นอนว่าเราจะเห็นประเด็นความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคของไบเดนหากเขาสามารถชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้
ดูบทความทั้งหมดของ ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ
"มีอิทธิพล" - Google News
September 29, 2020 at 06:36PM
https://ift.tt/33c4Z8K
รู้จักกุนซือเศรษฐกิจ โจ ไบเดน | ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ - กรุงเทพธุรกิจ
"มีอิทธิพล" - Google News
https://ift.tt/3gIvPK6
Home To Blog
No comments:
Post a Comment